top of page

วรรณกรรม

          นักเขียนในสมัยที่มีเครื่องพิมพ์ดีดแรกๆอาจเป็นบุคคลชั้นสูงที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการศึกษา รวมทั้งฐานะเนื่องจากการพิมพ์ในยุคแรกๆ มีต้นทุนในการผลิตสูงและยังไม่ค่อยได้รับความนิยม

          ครั้นเมื่อเครื่องพิมพ์ดีดเริ่มแพร่หลาย จนประชาชนสามารถหาซื้อมาไว้ในครอบครองได้ทำให้พวกเขาสามารถแสดงแนวคิด มุมมอง ทัศนคติต่างๆผ่านงานเขียนได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดผลงานวรรณกรรม งานเขียนขึ้นมากมาย ตัวอย่างนักเขียนที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พระวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร มาลัย ชูพินิจ กฤษณา อโศกสิน เป็นต้น

          มาลัย ชูพินิจ เป็นนักเขียนที่มีผลงานเป็นจำนวนมากผู้หนึ่ง ใช้นามปากกาหลายชื่อ แต่ที่รู้จักกันทั่วไป คือ แม่อนงค์ เรียมเอง และน้อย อินทนนท์ นายมาลัย ชูพินิจ เกิดเดือนเมษายน พ.ศ.2449 ที่จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรนายสอนและนางระเบียบ ชูพินิจ สนใจการเขียนหนังสือเป็นอาชีพมาตลอด มีงานเขียนที่เป็นประเภทเรื่องสั้นรวมทั้งที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ ประมาณ 2500 เรื่อง นอกจากนี้ยังมี นวนิยาย สารคดี บทวิจารณ์ บทความ และบทโทรทัศน์อีกเป็นจำนวนมาก ล้วนได้รับความนิยมจากผู้อ่านทั่วไป นับว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการประพันธ์เป็นอย่างยิ่งผู้หนึ่ง

[7]

มาลัย ชูพินิจ

(ที่มา http://krumalai.com/img/pic-talk01.jpg)

          กฤษณา อโศกสิน เป็นนามปากกาของนางสุกัญญา  ชลศึกษ์ ศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนราชินีล่าง และศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  แต่ยังไม่สำเร็จการศึกษาก็ออกทำงานที่กรมประมง กระทรวงเกษตร ต่อมาลาออกจากราชการและทำงานด้านการประพันธ์มาโดยตลอด

          กฤษณา อโศกสิน เขียนทั้งนวนิยายและเรื่องสั้น ใช้นามปากกาอื่นอีก เช่น กัญญ์ชลาสุปปวาสา ได้รับความนิยมจากผู้อ่านกว้างขวาง มีนวนิยายที่ได้รับรางวัลดีเด่น และรางวัลชมเชยหลายเรื่องนวนิยายดีเด่นของกฤษณา คือ เรือมนุษย์ ตะวันตกดิน ฝันกลางฤดูฝน รากแก้ว บ้านขนนก น้ำเซาะทราย และไฟหนาว เป็นต้น มีผู้นำงานประพันธ์ของกฤษณา อโศกสิน ไปสร้างเป็นละครวิทยุ ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์หลายเรื่องนับว่าเป็นนักเขียนสตรีที่ประสบความสำเร็จในการประพันธ์อย่างดียิ่ง

[8]

กฤษณา อโศกสิน

(ที่มา https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/d/df/กฤษณา_อโศกสิน.jpg/200px-กฤษณา_อโศกสิน.jpg)

หนังสือ บ้านขนนก (ฉบับพิมพ์เก่า)

[9]

          นอกจากนี้ยังมีนักเขียนและนักแปลที่มีชื่อเสียงอื่นๆอีกมาก เช่น หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง  รพีพัฒน์  สด กูรมะโรหิต 

หลวงวิจิตรวาทการ  อิศรา อมันตกุล  อังคาร กัลยาณพงศ์  สุคนธรส (ม.ล.รสสุคนธ์ อิศรเสนา)  อมราวดี (ลัดดา ถนัดหัตถกรรม)

บุญเหลือ (ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ)  ว.ณ. ประมวญมารค (พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) โบตั๋น (สุภา ลือศิริ)  ฯลฯ ซึ่งทำให้เห็นว่าวรรณกรรมของไทยพัฒนาขยายตัวออกอย่าง   กว้างขวาง  และนับวันจะมีความสัมพันธ์กับชีวิตในสังคมไทยยิ่งขึ้น

          ทางคณะผู้จัดทำสันนิษฐานว่านักเขียนเหล่านี้ใช้เครื่องพิมพ์ดีดในการพิมพ์ต้นฉบับส่งโรงพิมพ์

             บรรณานุกรม

    สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (ม.ป.ป.). นายมาลัย ชูพินิจ. เข้าถึงได้จาก

               http://arit.kpru.ac.th/rlocal/index.php/2014-06-11-03-52-02/26-2014-06-11-03-21-39/personage-kamphaengphet/254-2014-

               06-12-02-23-16. [11 ตุลาคม 2559].

    นภดล มณีวัต. (2552). กฤษณา อโศกสิน. เข้าถึงได้จาก http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=6545.0. [11 ตุลาคม 2559].

    สืบค้นรูปภาพจาก http://www.our-bookstore.com/product/545/บ้านขนนก-เล่มเดียวจบ-พิมพ์เก่า-สภาพดี-กฤษณา-อโศกสิน. [11 ตุลาคม 2559].

[7]

[8]

[9]

bottom of page