โรงเรียนสอนพิมพ์ดีด

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำเครื่องพิมพ์ดีดมาใช้ในงานราชการ ทำให้ข้าราชการจำเป็นต้องรู้วิธีการใช้เครื่องพิมพ์ดีด ทำให้ประชาชนที่ต้องการสอบเข้ารับราชการต้องสามารถใช้เครื่องพิมพ์ดีดได้ในประเทศไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2470 โรงเรียนสอนพิมพ์ดีดของเอกชนแห่งแรกเปิดขึ้นที่ตึก 3 ชั้นของห้างแมคฟาร์แลนด์ มุมถนนสุริยวงศ์สาเหตุที่เปิดสอนเพราะมีสตรี 3 คนมาขอเรียนพิมพ์ดีด ทางห้างจึงเปิดสอนวิธีพิมพ์ดีดแบบสัมผัสขึ้น โดยขณะนั้นยังไม่มีตำราพิมพ์ดีดภาษาไทย จึงต้องหัดจากตำราภาษาอังกฤษและ ฝึกพิมพ์จากหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งทั้งสามคนเรียนอยู่เป็นเวลา 6 เดือนก็สำเร็จ จากนั้นการสอนพิมพ์ก็หยุดลง
พ.ศ.2473 บริษัทแมคฟาร์แลนด์ จึงเปิดโรงเรียนสอนพิมพ์ดีดขึ้นที่ห้างสมิทพรีเมียร์ (Smith Premier Store) มุมถนนบูรพาตัดกับถนนเจริญกรุง โดยเก็บค่าเล่าเรียน 5 บาทต่อเดือน มีผู้คนมาสมัครเรียนเกินกว่า 500 คน
กล่าวได้ว่า การเข้ามาของเครื่องพิมพ์ดีด กระตุ้นให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ ทำให้เกิดโรงเรียนสอนพิมพ์ดีดขึ้น สอดคล้องกับแผนปฏิรูปการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นการสอนที่บ้าน วัด และในวัง มาเป็นการสอนแบบระบบโรงเรียน โดยการจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นโรงเรียนหลวงแห่งแรกคือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2414
ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังมีโรงเรียนสอนพิมพ์ดีดเปิดการเรียนการสอนอยู่ แต่มีจำนวนน้อยลงกว่าในอดีต เพราะเครื่องพิมพ์ดีดถูกลดบทบาทลงและไม่เป็นที่นิยมเช่นแต่ก่อน โรงเรียนที่ปัจจุบันยังคงมีการเรียนการสอนวิชาพิมพ์ดีดไทย โดยให้ฝึกพิมพ์กับเครื่องพิมพ์ดีด คือ โรงเรียนประชุมวิทยา จังหวัดอุดรธานี หลักสูตรพิมพ์ดีดไทยและอังกฤษเป็นหลักสูตรพิมพ์ดีดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งสามารถฝึกได้ทั้งบนเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา และเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่บางโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนวิชาพิมพ์ดีด แต่อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอนไม่ใช่เครื่องพิมพ์ดีด กลับเป็นคอมพิวเตอร์ เช่น พาณิชยการเชตุพน (กทม.) วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยว นครราชสีมา
[5]
[4]
[3]
บรรยากาศภายในห้องเรียน
บรรณานุกรม
ประวัติการฝึกหัดพิมพ์ดีด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://image.slidesharecdn.com/keyboarding1-110623040041-phpapp01/95/1-18-
728.jpg?cb=1308898190. [15 ตุลาคม 2559].
รู้จักโรงเรียนประชุมวิทยา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pwtranslations.com/. [14 พฤศจิกายน 2559].
นางสาววรุณี แพนลา. 23 ตุลาคม พ.ศ.2559
[3]
[4]
[5]