top of page

ประวัติความเป็นมา

  พ.ศ. 2237 Henry Mill เป็นวิศวกรผู้สร้างเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษเครื่องแรก ณ ประเทศอังกฤษ มีจุดประสงค์ คือ เพื่อช่วยให้คนตาบอดสามารถใช้การพิมพ์ดีดแทนการเขียนด้วยมือ แป้นพิมพ์ในสมัยนั้นมี 7 แถว 84 ปุ่ม ซึ่งแป้นพิมพ์นี้ถูกเรียกในปัจจุบันว่าแบบ 2 ชั้น ต่อมาได้มีการสร้างปุ่ม Shift และรวมอักษร 2 ตัวให้อยู่ในปุ่มเดียว จึงทำให้แป้นพิมพ์แบบ 2 ชั้นไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป

[1]

►  พ.ศ. 2435 Edwin Hunter McFarland หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน มีตำแหน่งเป็นเลขานุการส่วนพระองค์ในสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ นำเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย Smith Premier เครื่องแรก ผลิตโดยโรงงาน Smith Premier เข้ามาในประเทศไทยถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทดลองพิมพ์ หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงสั่งซื้อเครื่องพิมพ์ดีดดังกล่าวเข้ามาใช้ในราชการสยามเป็นครั้งแรกจำนวน 17 เครื่อง

[1]

เครื่องพิมพ์ดีดไทยและแป้นพิมพ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก Smith Premier

(ที่มา http://jhm57th.weebly.com/founder-history.html)

เครื่องพิมพ์ดีดรุ่นแรกของสยาม ที่มีชื่อว่า Smith Premier ต้องตัดการใช้พยัญชนะ "ฃ" และ "ฅ" ออกไป และใช้ "ข" และ "ค" แทน เนื่องจากไม่สามารถวางพยัญชนะภาษาไทยทั้งหมดบนแป้นพิมพ์ได้หมด

►  พ.ศ. 2438 Edwin McFarland ได้ถึงแก่กรรม กรรมสิทธิ์ในเครื่องพิมพ์ดีด Smith Premium จึงตกแต่ Dr. George Bradley McFarland หรือ      พระอาจวิทยาคม ผู้เป็นน้องชายและได้นำไปตั้งแสดงและสาธิตในร้านทำฟันของตนเอง จนเป็นที่รู้จักและสนใจของประชาชนอย่างมาก ดังนั้นนายแพทย์จอร์จ แมคฟาร์แลนด์จึงได้สั่งซื้อเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย Smith Premier เข้ามาจำหน่าย โดยตั้งร้านที่หัวมุมถนนเจริญกรุงตัดกับถนนวังบูรพา ชื่อร้าน Smith Premier Store ในปี พ.ศ. 2441

[1]

Edwin McFarland

(ที่มา https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/7/7f/พระอาจวิทยาคม.JPG/200px-พระอาจวิทยาคม.JPG)

พนักงานร้าน Smith Premire Store

(ที่มา http://jhm57th.weebly.com/uploads/4/5/7/5/45755423/5036806.png?357

►  พ.ศ. 2458 บริษัท Smith Premier ได้ขายสิทธิบัตรการผลิตให้แก่บริษัท Remington ซึ่งก็ได้ปรับปรุงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยให้เป็นแบบที่สามารถเลื่อนและยกแคร่อักษรได้ (Sliding, Shifting, Carriage) และลดจำนวนแป้นลงมาเหลือ 4 แถว แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ เพราะการพิมพ์ขัดกับการเขียน เช่น ตัว "ฝ" จะต้องพิมพ์ "ผ" แล้วต่อหางเอาเอง คำว่า "กิน" ต้องพิมพ์ "สระอิ" ก่อนแล้วจึงพิมพ์ "ก" และ "น"

[1]

►  พ.ศ. 2467-2474 พระอาจวิทยาคมร่วมกับนายสวัสดิ์ มากประยูรและนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี (กิมเฮง) ในการวางแป้นอักษรใหม่เพื่อให้สามารถพิมพ์ได้ถนัดและรวดเร็วจนเป็นแป้นพิมพ์แบบเกษมณี ซึ่งเป็นแบบที่วิเคราะห์แล้วว่าสามารถพิมพ์ได้ถนัดที่สุดและรวดเร็วที่สุด และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้  ต่อมามีการศึกษาพบว่าเครื่องพิมพ์ดีดแบบเกษมณียังมีข้อบกพร่อง และได้มีการคิดวางแป้นอักษรใหม่ ใช้ชื่อว่า “ปัตตะโชติ" ซึ่งคิดค้นโดยสฤษดิ์ ปัตตะโชติ  ในปี พ.ศ. 2508 แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมนัก เนื่องจากความเคยชินกับแป้นพิมพ์เกษมณี

[1]

แป้นพิมพ์แบบเกษมณี

(ที่มา http://www.nectec.or.th/it-standards/keyboard_layout/P1.jpg)

แป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติ

(ที่มา http://www.nectec.or.th/it-standards/keyboard_layout/P-2.jpg)

จุดที่เหมือนกันของแป้นพิมพ์เกษมณีและแป้นพิมพ์ปัตตะโชติคือ ไม่มีแป้นตัวอักษร ฃ ฅ

            บรรณานุกรม

    ราชบัณฑิตยสถาน. (2555, มีนาคม). เครื่องมือเปลี่ยน ภาษาเปลี่ยน. วารสารราชบัณฑิตยสถาน,37, , หน้า75-92.

[1]

bottom of page