top of page

ประเภทของเครื่องพิมพ์ดีด

          เราสามารถจำแนกประเภทของเครื่องพิมพ์ดีดได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้จำแนก

[2]

☞ แบ่งตามขนาด มี 2 ประเภท คือ

          1.  เครื่องพิมพ์ดีดขนาดตั้งโต๊ะ

          2.  เครื่องพิมพ์ดีดขนาดพกพา

เครื่องพิมพ์ดีดขนาดตั้งโต๊ะ

(ที่มา http://qmrta.net/control_know/know11/14.JPG)

เครื่องพิมพ์ดีดขนาดพกพา

(ที่มา http://q.lnwfile.com/_/q/_raw/ms/ff/rd.jpg)

☞ แบ่งตามกลไกการทำงาน มี 2 ประเภท คือ

          1. เครื่องพิมพ์ดีดชนิดธรรมดา หมายถึง เครื่องพิมพ์ดีดที่ใช้พิมพ์สัมผัสด้วยมือ ซึ่งต้องออกแรงในการพิมพ์มากไม่มีกลไกที่พิเศษอะไรที่จะช่วยผ่อนแรง นิยมใช้ในสำนักงานทั่วไป ราคาไม่แพง

          2. เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เป็นเครื่องพิมพ์ดีดที่ต้องใช้ไฟฟ้า มีกลไกอัตโนมัติมากกว่าเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา ประหยัดแรงกว่า เพราะเพียงสัมผัสเบาๆ เครื่องก็จะทำงานสามารถพิมพ์สำเนาจดหมายได้ดีกว่าให้ตัวพิมพ์ที่สวยงามบางรุ่นมีคำสั่งอัตโนมัติให้ ทำงานได้สะดวกรวดเร็ว  มีหัวพิมพ์กลมขนาดลูกกอล์ฟ มีแป้นแบบที่มีอักษร 2 ภาษา คือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

เครื่องพิมพ์ดีดชนิดธรรมดา

(ที่มา http://www.besttechoa.com/img/p/1503-1616-thickbox.jpg)

เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า

(ที่มา http://www.besttechoa.com/img/p/1504-1617-large.jpg)

แบ่งตามคุณสมบัติพิเศษของเครื่อง มี 6 ประเภท คือ

          1. เครื่องพิมพ์ดีดอัตโนมัติ ( Automatic Typewriter ) เป็นเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ข้อมูลจากเทปแบบ Perforatedroll หรือแบบ Magnatic

          2. เครื่องพิมพ์ดีดแบบเฟลกโซไรท์เตอร์ (Flexowriter) สามารถพิมพ์ข้อมูลลงในเทปและพิมพ์ได้ด้วย

          3. เครื่องพิมพ์ดีดแบบวาริไทป์เปอร์ (Vari - Typer หรือ Computing Machine) เป็นเครื่องพิมพ์ดีดที่สามารถ ใช้คำสั่งให้ตัวอักษรมีลักษณะต่างๆ เช่น ตัวอักษรเข้ม ตัวอักษรใหญ่ขึ้น เป็นต้น

          4. เครื่องพิมพ์ดีดแบบปรับช่องไฟได้ (Proportional Spacing Typewriter) โดยสามารถปรับให้ช่องไฟเท่ากันเพราะตัวอักษรจะมีขนาดช่องไฟต่างกัน เช่น ตัว W กับตัว I

          5. เครื่องพิมพ์ดีดแบบจัสโตไรท์เตอร์ (Justowriter) เป็นเครื่องที่สามารถปรับกั้นระยะหน้าและหลังได้ โดยเทปจะบันทึกข้อมูลในการพิมพ์ครั้งแรก ซึ่งเครื่องทำงานครั้งต่อไปจากข้อมูลจากเทปโดยอัตโนมัติ

          6. เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับการพัฒนาความสามารถเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยรวมคุณสมบัติพิเศษซึ่งมีความสามารถสูงจนเกือบเท่ากับเครื่องประมวลผลคำและสามารถใช้ต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ได้

เครื่องพิมพ์ดีดอัตโนมัติ

(ที่มา http://www.sinkaonline.com/imageuser/2000-00-00/08/08/21/thaisellingp6791011n1.jpg)

เครื่องพิมพ์ดีดแบบ Vari –Typer

(ที่มา http://site.xavier.edu/polt/typewriters/varityper1.jpg)

เครื่องพิมพ์ดีดแบบ Flexowriter

(ที่มา http://www.neurotica.com/w/images/9/97/Friden_Flexowriter_SPS_1.jpg)

เครื่องพิมพ์ดีดแบบปรับช่องไฟได้

(ที่มา http://www.besttechoa.com/img/p/1504-1617-large.jpg)

เครื่องพิมพ์ดีดแบบ Justowriter

(ที่มา http://www.tekniskamuseet.se/images/18.6861868312d7dfb918e80002534/1339755793167/DIG94124_hb.jpg)

เครื่องพิมพ์ดีดอีเล็กทรอนิกส์

(ที่มา http://www.iretron.com/blog/wp-content/uploads/2015/06/smith-carona.jpg

            บรรณานุกรม

    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์. เครื่องพิมพ์ดีด. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก

             http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu46/website/fmedia-2-4.htm. [8 ตุลาคม 2559].

[2]

bottom of page